พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 กรกฎาคม 2560 - 11 กรกฎาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday July 5, 2017 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 กรกฎาคม 2560 - 11 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกาตรในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค. บริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งควรปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ใช้การได้ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผลเนื่องจากระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนลำไยควรระวังป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคผลแตก ผีเสื้อมวลหวาน และหนอนเจาะขั้วผล เป็นต้น โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบควรรีบกำจัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค. บริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคจะมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งควรปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ใช้การได้ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ข้าวนาปีระยะนี้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้า ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ ซึ่งจะพบการระบาดมากในนาหวานที่มีข้าวขึ้นหนาแน่นและอับลม ถ้าโรคระบาดรุนแรงจะทำให้กล้าข้าวแห้งตาย

ภาคกลาง

ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5 – 8 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พืชไร่ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องทั้งปริมาณและการกระจาย สำหรับพืชไร่ที่กำลังเจริญเติบโต เกษตรกรควรหมั่นสำหรวจและกำจัดวัชพืชบริเวณรอบแปลงปลูกเพื่อไม่ให้แย่งสารอาหารจากพืชและไม่ให้เป็นเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ
  • พืชผัก/ไม้ดอกระยะนี้ด้านตะวันตกของภาค เช่น บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรีมีปริมาณฝนที่ตกน้อยกว่าปริมาณน้ำที่พืชต้องการ และในระยะต่อไปแม้จะมีฝนแต่ปริมาณอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค.บริเวณตอนล่างของภาคโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราดจะมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งควรปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ใช้การได้ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • พืชไร่ เนื่องจากจะยังคงมีฝนตก สภาพอากาศที่ชื้นอาจชักนำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่าหรือต้นเน่าในสัปรด และโรคใบไหม้ในมันสัมปะหลัง เป็นต้น โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบควรรีบกำจัด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรเนื่องจากระยะที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกน้อย เช่น บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุงและสงขลา และในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณจะไม่เพียงพอกับความต้องการน้ำของพืชโดยเฉพาะไม้ผลที่กำลังเจริญเติบโตทางผล ดังนั้นเกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันผลผลิตชะงักการเจริญเติบโต

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 5 – 9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • ยางพาราระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะยังคงมีฝนและฝนตกหนักส่วนมากในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค.โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จังหวัดระนองและพังงา ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้หน้ากรีดยาวเสียหายได้
  • ชางประมงระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะยังคงมีฝนและฝนตกหนักส่วนมากในช่วงวันที่ 5-9 ก.ค.โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จังหวัดระนองและพังงา ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้หน้ากรีดยาวเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ