พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 กรกฎาคม 2560 - 16 กรกฎาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday July 10, 2017 13:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 กรกฎาคม 2560 - 16 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร บริเวณที่มีฝนติดต่อกันทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบและยอดอ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันสัตว์ศัตรูพืช เช่น ค้างคาว และผีเสื้อมวนหวาน ซึ่งจะกัดกินและดูดน้ำหวานจากผลทำให้ผลเน่าเสีย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ข้าวนาปี สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้กล้า ซึ่งจะกัดกินต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเสียหาย
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรซ่อมแซม โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้มีความมั่นคงแข็งแรงดังเดิม หลังคาอย่าให้มีรอยรั่ว แผงกำบังฝนสาดอย่าให้ชำรุด เพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากระยะต่อจากนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น

ภาคกลาง

ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-16 ก.ค.อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ เกษตรกร ควรระวังและป้องกันการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และตายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจน เปลือกผลไม้ กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะลุกลามจากเปลือกและผลที่เน่าเสียมาสู่ต้นพืชได้
  • พืชไร่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกิน ใบและยอดอ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจึงทำให้มีฝนตกตลอดช่วงส่งผลให้ดินและอากาสมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชสวน ควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน
  • สัตว์น้ำ ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้ สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่ จ.ระนองขึ้นไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจึงทำให้มีฝนตกตลอดช่วงส่งผลให้ดินและอากาสมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชสวน ควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน
  • สัตว์น้ำ ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้ สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ