พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 กรกฎาคม 2560 - 30 กรกฎาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday July 24, 2017 15:17 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 24 กรกฎาคม 2560 - 30 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตรระยะนี้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่โดยเฉพาะแปลงนาซึ่งข้าวอยู่ในระยะแตกกอ เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตในช่วงที่อากาศแปรปรวนอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลงและอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • พืชผักเนื่องจากระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนัก ถึงหนักมาก ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชผักควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าดำในผักตระกูลกะหล่ำ และโรคใบไหม้ในมันฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 25-27 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรระยะนี้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและในช่วงวันที่ 25-27 ก.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่โดยเฉพาะแปลงนาซึ่งข้าวอยู่ในระยะแตกกอ เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตในช่วงที่อากาศแปรปรวนอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลงและอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • พืชไร่ระยะนี้จะมีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ในมันสัมปะหลังและโรคเหี่ยวเน่าแดงในอ้อย เป็นต้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค.จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้แม่น้ำ เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • สัตว์น้ำในช่วงที่มีฝนตกชุก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายเนื่องจากปริมาณและคุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในกระชัง ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อาจจะน๊อคน้ำตายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรระยะนี้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะแปลงนาซึ่งข้าวอยู่ในระยะแตกกอ เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตในช่วงที่อากาศแปรปรวนอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลงและอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • ยางพาราระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวัง และป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งอาจทำให้หน้ากรีดยางและต้นยางเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรระยะนี้บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคแม้จะมีฝนตกหนัก แต่จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะบางจังหวัด เช่น พังงาและระนอง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันตกในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้า ปริมาณฝนที่จะตกยังไม่เพียงพอต่อความการน้ำของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • ชาวประมงระยะนี้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนและบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค.คลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายเนื่องจากคลื่นลมที่แรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรระยะนี้บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคแม้จะมีฝนตกหนัก แต่จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะบางจังหวัด เช่น พังงาและระนอง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันตกในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้า ปริมาณฝนที่จะตกยังไม่เพียงพอต่อความการน้ำของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • ชาวประมงระยะนี้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนและบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค.คลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายเนื่องจากคลื่นลมที่แรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ