พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 31 กรกฎาคม 2560 - 06 สิงหาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday July 31, 2017 15:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 31 กรกฎาคม 2560 - 06 สิงหาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม หากพบต้นไม้ที่ล้มเอนควรผูกยึดให้ตั้งตรง ถ้ามีบาดแผลควรทำความสะอาดและทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่อาจทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ข้าวนาปี ในช่วงที่มีผ่านมาฝนตกติดต่อกัน และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตกตลอดช่วง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวเสียหาย สำหรับในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ซึ่งลอยมากับน้ำ ไม่ให้มาแพร่พันธุ์ในแปลงนาซึ่งจะทำความเสียหายแก่ต้นข้าวได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน อาจทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเสริมแนวคันดินให้สูงขึ้น ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพระจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกแล้วเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ให้น้ำแยกชั้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ไม้ผล ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกติดต่อกัน และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตกตลอดช่วง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และตายได้ เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับภาคใต้ตอนบนจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางตอนล่างของภาค ทำให้ทางตอนบนของภาคมีความชื้นในดินและอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนทางตอนล่างของภาคปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 3 - 6 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันและบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ เกือบตลอดช่วง และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ในช่วงวันที่ 3 - 6 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -40 กม./ชม. จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร จังหวัดกระบี่ ลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับภาคใต้ตอนบนจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางตอนล่างของภาค ทำให้ทางตอนบนของภาคมีความชื้นในดินและอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนทางตอนล่างของภาคปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 3 - 6 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันและบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ