พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 สิงหาคม 2560 - 10 สิงหาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday August 4, 2017 15:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 สิงหาคม 2560 - 10 สิงหาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้นฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังในระที่ผ่านมาเกษตรกรควรเร่งฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วเพื่อลดการสูญเสีย
  • ข้าวนาปีระยะนี้สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูงสำหรับข้าวนาปีที่กำลังเจริญเติบโต ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ ซึ่งจะระบาดมากในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้นฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะ น้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา บริเวณที่ระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรเร่งพื้นฟูพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที้เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยง หากพบสัตว์เลี้ยงที่เจ็บป่วยให้รีบแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษา รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พืชไร่ระยะนี้สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูงสำหรับพืชไร่ที่กำลังเจริญเติบโต เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแส้ดำในอ้อย และโรคราสนิมในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น ซึ่งจะระบาดมากในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกาตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้แม่น้ำ เกษตรกรควรเสริมคันดินเพื่อป้องกันน้ำหลากท่วมนาข้าว และจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • พืชผักสภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชผัก ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค.จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก
  • ยางพาราระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องสภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวัง และป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรค ใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งอาจทำให้หน้ากรีดยางและต้นยางเสียหายได้
  • ประมงในช่วงวันที่ 4 - 6 ส.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคจะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่งแต่จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะบางจังหวัด เช่น พังงาและระนอง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณฝนยังไม่เพียงพอต่อความการน้ำของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • ชาวประมงในช่วงวันที่ 4 - 6 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามัน และบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร จังหวัดกระบี่ลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคจะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่งแต่จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะบางจังหวัด เช่น พังงาและระนอง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณฝนยังไม่เพียงพอต่อความการน้ำของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • ยางพารา ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งอาจทำให้หน้ากรีดยางและต้นยางเสียหายได้
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 4 - 6 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามัน และบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ