พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 ตุลาคม 2560 - 17 ตุลาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday October 11, 2017 15:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 ตุลาคม 2560 - 17 ตุลาคม 2560

ภาคเหนือ

ในวันที่ 11-12 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนทางตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • สัตว์เลี้ยง สำหรับสภาพอากาศชื้นและมีอากาศเย็นในตอนเช้า อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะด้ไม่เจ็บป่วย จัดหาน้ำดื่มที่สะอาด ให้กับ สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูหนาวให้กับสัตว์ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนทางตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ข้าวนาปี สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะแตกกอถึงออกรวง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้คอรวง เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ผลผลิตที่แก่ดีแล้วให้รีบเก็บเกี่ยว รวมทั้งจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • สัตว์น้ำ สำหรับ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตก เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยนแปลง อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก ในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรครากขาวในพริกไทย และโรคใบจุดในพืชผักสวนครัว เป็นต้น โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตร ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ต้นพืชทรุดโซม ชะงักการเจริญเติบโต
  • ยางพารา ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 11-13 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตร ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ต้นพืชทรุดโซม ชะงักการเจริญเติบโต
  • ยางพารา ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ออกประกาศ 11 ตุลาคม 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ