พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 ตุลาคม 2560 - 29 ตุลาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday October 23, 2017 13:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 ตุลาคม 2560 - 29 ตุลาคม 2560

ภาคเหนือ

ในวันที่ 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรและเร่งฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ข้าวนาปี ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง สำหรับข้าวนาปีที่กำลังตั้งท้อง-ออกรวง ชาวนาควรดูแลอย่าให้แปลงนาขาดน้ำในระยะนี้เพื่อให้ข้าวมีผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้คอรวง ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-29 ต.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้เป็นต้นฤดูหนาว โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรจัดเตรียมและจัดหาวัสดุและอุปกรณ์สำหรับให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็นจนร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูหนาวให้กับสัตว์ด้วย
  • พืชไร่/ ไม้ดอก/พืชผัก ระยะนี้ปริมาณฝนเริ่มลดลงกับมีอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้าเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในวันที่ 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรและเร่งฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้เป็นต้นฤดูหนาว สภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า และอุณภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อาจทำให้สัตว์เลี้ยง ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย ส่วนพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เป็นเวลานาน ซึ่งทำให้สัตว์เลี้ยงติดเชื้อโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคตะวันออก

ในวันที่ 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรและเร่งฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ไม้ผล ระยะนี้ปริมาณฝนเริ่มลดลงกับมีอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า ชาวสวนควรระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนรังเจาะลำต้นในทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด และหนอนชอนเปลือกลำต้นในลองกอง เป็นต้นซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 24- 29 ต.ค.จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ ดังนั้นเกษตรกรควรเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูง สำหรับไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ และมังคุด ซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อน ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า
  • กาแฟ ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โรคใบจุด และ โรคผลเน่า เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 24- 29 ต.ค.จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ ดังนั้นเกษตรกรควรเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ในช่วงวันที่ 24-29 ต.ค. ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูง สำหรับไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ และมังคุด ซึ่งอยู่ในระยะแตกใบอ่อน ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า
  • กาแฟ ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โรคใบจุด และ โรคผลเน่า เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ออกประกาศ 23 ตุลาคม 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ