พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday December 20, 2017 15:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 139/60

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงและอากาศจะเย็นลง ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย.ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงได้อีก 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานีลงไปจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเล อันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 20-26 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรเกษตรกร ชาวเรือและชาวประมงควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำ สุด 20-25 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว10-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 23-26 พ.ย.อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำ สุด17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้
  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษาเพื่อไม่ให้ เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง1-3 องศาเซลเซียส และอากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 23-26 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงอุณหภูมิต่ำ สุด 16-21 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
  • ปลาในกระชัง สภาพอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อยเกษตรกรควรลดปริมาณอาหารลง เพราะอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรลดจำนวนปลาในกระชังไม่ให้อยู่อย่าง

แออัดเกินไป เพราะจะทำให้เบียดเสียดกันจนเกิดเป็นแผลและติดเชื้อโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากโดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำ สุด 23-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 23-26 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงและอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา เซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อยลงในช่วงฤดูหนาว
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน โดยมีฝนตกในบางวันเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน

ของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในวันที่ 23-26 พ.ย.อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตร ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ไม้ผล สำหรับชาวสวนควรป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะลำต้นในทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด และหนอนชอนเปลือกลำ ต้นในลองกอง เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะ ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. และช่วงวันที่ 23-26 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วง วันที่ 22-23 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตร ในระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวรวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพไม่ควรปล่อยให้น้ำ ท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • พืชสวน ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสีชมพูในลองกอง เป็นต้น
  • ชาวเรือและชาวประมง ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 20-26 พฤศจิกายน 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ในช่วงวันที่ 1-19 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.โดยภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-600 มม.3

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณ ฝนสะสม 10-150 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคเหนือทางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นสมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เว้นแต่บริเวณภาคกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-40 มม. สำหรับในภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-100 มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสมสูงสุด 70-100 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส และในช่วง 23-26 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลงได้อีก 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงให้สมบูรณ์แข็งแรง ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นตลอดสัปดาห์และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำขังได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรจัดระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ