พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – 4 มกราคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday December 29, 2017 16:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – 4 มกราคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 156/60

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 - 30 ธ.ค. 60 ประเทศไทยตอนบนรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 3 – 4 ม.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 4 ม.ค. 61 ภาคใต้จะมีฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรบริเวณภาคใต้ตอนล่างควรระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าฝั่ง สำหรับในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 - 31 ธ.ค. 60 และในช่วงวันที่ 3 – 4 ม.ค. 61 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 61 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-3องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมี อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำ สุด 3-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน โดยมีอากาศหนาวเย็นกับมีฝนตก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้น เป็นสภาวะแวดล้อมที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
  • ระยะนี้มีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 - 30 ธ.ค. 60 และในช่วงวันที่ 3 – 4 ม.ค. 61 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 23-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและรีบทำการรักษาเพื่อไม่ให้ เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • อากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่องทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้ น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้ เพื่อป้องกันอาหารเหลือ จะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • เนื่องจากระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยกว่าน้ำระเหย ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 - 31 ธ.ค. 60 และในช่วงวันที่ 3 – 4 ม.ค. 61 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 61 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีอากาศหนาวเย็น ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้น เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 - 30 ธ.ค. 60 และในช่วงวันที่ 3 – 4 ม.ค. 61 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้น เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และโรคราดำในมะม่วง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ควรรีบควบคุมก่อนระบาดไปยังต้นอื่นๆ
  • อากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่องทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้ น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้ เพื่อป้องกันอาหารเหลือ จะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและปรับอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 29 - 30 ธ.ค. 60 และในช่วงวันที่3 – 4 ม.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมาก ทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว20-45 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-31 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 29 - 30 ธ.ค. 60 และในช่วงวันที่3 – 4 ม.ค. 61 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ และโรคราสีชมพูในลองกอง เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 - 2 ม.ค. 61 บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ตอนล่างควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม 2560 – 4 มกราคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ในช่วงวันที่ 1-28 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.เป็นส่วนมาก เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนที่มีฝนสะสม 50 –100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 400-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกสะสมน้อยกว่า 25 มม. เป็นส่วนมาก เว้นแต่ด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคกลาง มีปริมาณฝนสะสม 25 - 50 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 1-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 10-25 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็น (-1)-(-30) มม. ส่วนด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคกลางมีค่าสมดุลน้ำเป็น 1 – 40 มม. สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีค่า

สมดุลน้ำสะสมเป็น (-1)-(-20) มม. ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็น 1-400 มม. และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสมมากที่สุด (20 – 400 มม.)

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นและมีฝนตกเล็กน้อยถึงหนักในช่วงท้ายของช่วงและภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สำหรับภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวนอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ