พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 5 - 11 มกราคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday January 5, 2018 16:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 - 11 มกราคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 3/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5–7 ม.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศจะหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ อุณหภูมิจะลดลง3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5-7 ม.ค. 61 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. 61 บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-9 ม.ค. 61 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. 61 อากาศเย็นถึงหนาวอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด3-7องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายหนาวเย็นจนอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย
  • ในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. 61 อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์
เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่น ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนเห็นดอกชัดเจน จึงค่อยให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-7 ม.ค. 61 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศา เซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 8-11 ม.ค. 61 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น และมีฝนบางพื้นที่โดยในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. 61 อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยปริมาณน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำ บริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-8 ม.ค. 61 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา เซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ม.ค. 61 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-11 ม.ค. 61 อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หรือให้น้ำพืชในช่วงเย็นเพื่อลดการสูญเสียน้ำโดยการระเหย และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-8 ม.ค. 61 มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ม.ค. 61 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-11 ม.ค. 61 อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้การติดผลลดลงและผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5-8 ม.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11ม.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 5-8 ม.ค. 61 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ม.ค. 61 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-11 ม.ค. 61 ภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคทำให้ความชื้นในดินและในอากาศมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผักต่างๆ เช่น โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. 61 บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ตอนล่างควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-11 มกราคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-4 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่ทางตอนบนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ที่มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 5 มม. สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่ทางตอนบนของภาคเหนือที่มีฝนตกเล็กน้อย โดยมีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 25 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 1-25 มม. เว้นแต่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีปริมาณฝนสะสม 25-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 10-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางทางด้านตะวันออก และภาคตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-10)-(-30) มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-20 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-20) มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-40 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ สำหรับ 7 วันข้างหน้า ในช่วงแรกประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ก่อนที่อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียสในช่วงครึ่งหลังและมีฝนตกบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนสำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ