พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 - 30 มกราคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday January 24, 2018 14:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24-30 มกราคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. 61 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ม.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค.61 มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค

คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 25-30 ม.ค. 61 ทางตอนบนของภาค : อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ และมีฝนเล็กน้อยบางห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ทางตอนล่างของภาค : อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ รวมทั้งมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกและควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • สำหรับบริเวณที่มีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-29 ม.ค. 61 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม. /ชม. หลังจากนั้นวันที่ 30 ม.ค. 61 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นและมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • เนื่องจากมีน้ำระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้นเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว10-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค.61 มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค.61 มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงและมีฝนตกหนักทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก และควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้น
สะสม
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 24-30 มกราคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-23 มกราคม 2561) บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกมีปริมาณฝนสะสม 50-150 มม. สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม. โดยเกิดขึ้นที่ บริเวณภาคตะวันออกตอนล่างเป็นส่วนใหญ่ สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-200 มม. โดยภาคใต้ ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-20)-(-30) มม. สำหรับภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-150 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสมสูงสุด 70-150 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นโดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนช่วงวันที่ 29-30 ม.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกตลอดช่วง โดยเฉพาะในช่วงวันที่24-25 ม.ค. ที่จะมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลันในบริเวณพื้นที่เพราะปลูกและการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ