พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday February 12, 2018 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 19/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง3-5 องศาเซลเซียส โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวโดยทั่วไป อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลงอนึ่ง พายุโซนร้อน “ซันปา” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจะเคลื่อนผ่านทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์และลงทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. 61 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ. 61และจะอ่อนกำลังลง ซึ่งพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

คำเตือน ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว ทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศา เซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-6 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันตก วามเร็ว10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่เกษตรกรควรระมัดระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด10-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. อากาศเย็นกับ มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำ สุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. จะมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัว
ไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาวเพื่อป้องกันลมโกรกเข้าโรงเรือน ซึ่งจะทำให้สัตว์หนาวเย็นและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในระยะนี้มีน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว10-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย-ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลงเพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสียส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. อากาศเย็น โดยมี ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. อากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ในช่วงวันที่ 1-11 กุมภาพันธ์ 2561) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม.เว้นแต่บริเวณจังหวัดระยองและภาคใต้ตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 10 มม. โดยบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 1-25 มม. ที่จังหวัดชุมพร และมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม. ที่จังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ โดยมีค่า (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคใต้ที่จังหวัดชุมพรมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็น (-1)-(-10) ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็น (-30)-(-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น และภาคใต้ มีฝนตกบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีลมแรงโดยอุณหภูมิจะลดลงในช่วงแรกของสัปดาห์ ก่อนที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลังของสัปดาห์ เกษตรกรจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สำหรับภาคใต้จะมีฝนบางพื้นที่ เกษตรควรกักเก็บน้ำเพื่อใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ