พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday May 11, 2018 16:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 57/61

การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 พ.ค. ประเทศไทยจะมีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่14-17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยการดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกและหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม และจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์รวมทั้งดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่14-17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้จะมีฝนตกติดต่อกันทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพโดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยการดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่
  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อมสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝน หากมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอแล้วจึงเริ่มปลูกพืช และควรเว้นระยะห่างให้เหมาะสม จะทำให้ระบายอากาศได้ดี ไม่เกิดความชื้นสะสมในแปลงปลูก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 -85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำ ให้สภาพน้ำ เปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้จะมีฝนตกติดต่อกันทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 14-17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำ ให้สภาพน้ำ เปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 11-17 พฤษภาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-10 พฤษภาคม) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และนครศรีธรรมราช ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันมี่ 4-10 พ.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณประเทศไทยตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำสม (-1) - (-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ไม่ควรปลูกหนาแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้มีความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก เป็นสาเหตุของโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ