พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday May 14, 2018 14:08 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 58/61

การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. ประเทศไทยจะมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค.ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น

คำเตือน ในวันที่ 14 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวสำหรับในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียสลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน เกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงฤดูฝน ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • สำหรับในช่วงฤดูฝนปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี และไม่ควรปลูกพืชแน่นจนเกินไปรวมทั้งควรหันหัวแปลงปลูกพืชไปตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นภายในแปลงปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์มารบกวน เช่น ค้างคาว และผีเสื้อมวนหวาน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกอาจมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝน ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรยกร่องแปลงปลูกให้สูงขึ้น ขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ อย่าให้ตื้นเขิน น้ำ สามารถใหลได้สะดวกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมซ่อมแซมแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานรวมทั้งไม่ควรปล่อยให้พื้นคอกชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 -85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้ และผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียกองสุมอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัด โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝนปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควร ดูแลสำรวจคูคลอง และทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน น้ำสามารถระบายได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งจะพัดเอาความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้ามาสู่ประเทศไทยและภาคใต้ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำ เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้สะดวกป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนในช่วงบ่ายและค่ำซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดกัน ผลที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากพบควรปลิดทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช และอาจนำมาซึ่งโรคเชื้อราได้
  • ในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-13 พฤษภาคม) บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.โดยภาคเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกด้านตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.

สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม. โดยภาคเหนือตอนบนและภาคกลางด้านตะวันตกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกด้านตะวันตก มีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-70 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกเกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ