พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 18 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday May 18, 2018 15:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 60/61

การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ค. ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 – 24 พ.ค.ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21 -24 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพโดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม และจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์รวมทั้งดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในวันที่ 19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ60 - 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ
เป็นต้น
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรสำรวจขอบบ่อ ให้ดูมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมซ่อมแซมแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานรวมทั้งไม่ควรปล่อยให้พื้นคอกชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้มีความชื้นสูง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝน ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75 - 85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้ และผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียกองสุมอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัด โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ในช่วงที่ฝนตกให้ดูแลอุณหภูมิน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันการปรับตัวไม่ทันของสัตว์น้ำจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75 - 85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค.ในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 18-24 พฤษภาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1 - 17 พฤษภาคม) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 50 - 200 มม. เป็นส่วนใหญ่เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย และ พะเยา ที่มีปริมาณฝนสะสม 200 - 300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันมี่ 11 - 17 พ.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 5 - 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคใต้ ที่มีปริมาณฝนสะสม 100 - 150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25 - 40 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1 - 100 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศ และบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1)-(-30) มม.

สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของภาคที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1 - 70 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะยังมีฝนฟ้าคะนองคลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกเกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ