พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 25 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday May 25, 2018 16:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 63/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26-31 พ.ค. ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 26-31 พ.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน เกษตรกรที่ปลูกพืชผักในระยะนี้ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมบริเวณแปลงปลูกพืชและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรเก็บผลที่ร่วงหล่น เน่าเสีย ไปกำจัด โดยการเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 26-29 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศา เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 26-29 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำ ให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก อย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวกเพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ หลังคาไม่มีรอยรั่วซึมและแผงกำบังฝนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรซึ่งอยู่ในที่ลุ่มควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำ ขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายในช่วงฤดูฝน
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อทำให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และออกดอกในฤดูกาลถัดไป

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ทะเลอันดามันตอนบน: ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่าง : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ในช่วงวันที่ 26-31 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-24 พฤษภาคม) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดเชียงราย และพะเยา ที่มีปริมาณฝนสะสม 300-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศและบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1)-(-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 26-31 พ.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ ออกจากแปลงปลูก อย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ