พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday May 28, 2018 14:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 64/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28 -30 พ.ค. ภาคเหนือ ด้านตะวันตกของภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. -3 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนัก โดย ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 28-30 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 28 -30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน ดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมภายในบริเวณแปลงปลูกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม และแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 28 -31 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกอาจมีน้ำขังในบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกัน เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะโรคเล็บโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบเช่น โคและกระบือเป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 -30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูงและจัดเตรียมที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้ ตลอดจนวางแผนการอพยพสัตว์เลี้ยง ไปไว้ในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งจัดเตรียมไฟสำหรับส่องสว่างในตอนกลางคืน เอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม เพื่อจะได้เอาไว้ใช้งาน เมื่อเกิดสภาวะฝนตกหนัก ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 28 -30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้ ตลอดจนผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรค และศัตรูพืช
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน โดยดูแลแปลงปลูกพืชให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในพื้นที่เพาะปลูก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28 -30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 28 -30 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อันดามันตอนบน: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อันดามันตอนล่าง : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และกำลังเจริญเติบโตทางผลสำหรับบางพื้นที่ซึ่งฝนตกและหยุดสลับกันควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-27 พฤษภาคม) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา และระนอง ที่มีปริมาณฝนสะสม 300-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันมี่ 21-27 พ.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 25-200 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดเชียงราย ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 0-150 มม. สำหรับบริเวณที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ (-1)–(-40) มม. ส่วนมากอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

คำแนะนำ สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ อย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกนอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ