พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 6 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday June 6, 2018 14:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 68/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ และโรคใบจุดในพริก มะเขือ เป็นต้น รวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอนเช่น หนอนกระทู้ในพืชตระกูลกะหล่ำ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบควรรีบควบคุมก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์รวมทั้งดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบเช่น โคและกระบือ เป็นต้น
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรป้องกันไม่ให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้มและ ราน้ำค้างในพืชผักสวนครัว ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และขั้วผลแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรารวมทั้งใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรป้องกันไม่ให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะเจาะและกัดกินผลทำให้ผลผลิตเสียหาย และด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟและยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าโรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 6-12 มิถุนายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-5 มิ.ย.) บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลาง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด100-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลาง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคเหนือมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-300 มม. โดยภาคตะวันออกฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกตอนล่าง มีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-300 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-150 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-150 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ