พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday June 11, 2018 15:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 11 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 70/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 มิ.ย.ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนบนส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงตลอดช่วงโดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เช่น ลำไยและลิ้นจี่ เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นเน่าเสีย ตลอดจน เปลือกผลไม้ กองอยู่ในบริเวณสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจหลังคาโรงเรือน และแผงกำบังฝนสาด อย่าให้มีรอยรั่วซึม และชำรุดเสียหาย เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนหนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคส่วนในช่วงวันที่ 13-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก บางพื้นที่อาจมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะ โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบนอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาคลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งานเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดสภาวะน้ำท่วม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดหาพื้นที่สำหรับอพยพสัตว์ไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เช่น เงาะและทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้ ผลที่ร่วงหล่น เน่าเสีย กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำ ท่ว ม ขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตาย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 14-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 14-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีฝนกับฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนส่วนมากในช่วงบ่ายค่ำ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล แต่ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน เอาไว้ด้วย
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 11-17 มิถุนายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-10 มิ.ย.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกตอนล่าง และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม100-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกตอนล่าง และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1 - 300 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ตอนกลางของประเทศ และภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7วันข้างหน้า ประเทศไทยจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ