พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday June 15, 2018 15:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 72/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง เว้นแต่ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 15-18 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มเกษตรกรควรป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูกเพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนแปลงนาข้าวที่อยู่ในระยะกล้า ชาวนาควรเสริมคันนาและระบบระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อป้องกันน้ำท่วมต้นกล้าเมื่อเกิดฝนตกหนัก
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในที่ลุ่ม ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูง และดูแลหลังคาโรงเรือนไม่ให้รั่วซึม เพื่อป้องกัน สัตว์เปียกชื้น และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32- 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 15-18 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีสำ หรับกล้าข้าวที่กำ ลังเจริญเติบโต บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครา น้ำค้างในข้าวโพด และพืชผักสวนครัว เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้รีบกำจัด
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมขอบบ่อ ให้ดูมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. โดยในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เช่นเงาะ และทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกและ ผลที่ร่วงหล่น กองเน่าเสียอยู่ในบริเวณสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ระยะนี้ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 16-19มิ.ย. โดยในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. โดยในวันที่ 16-19 มิ.ย. ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตรตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-21มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • เกษตรกรที่ปลูกกาแฟและยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรครากขาว และโรคเส้นดำ ในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคผลเน่าในทุเรียน เงาะ และลองกอง เป็นต้น รวมทั้งการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตลดลงและเสียหาย
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 15-21 มิถุนายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-14 มิ.ย.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 25-150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกตอนล่าง และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 150-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 5-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทย และภาคตะวันออกตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 20-35 มม. โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่น

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-100 มม.โดยเฉพาะด้านตะวันตกของประเทศ และตอนล่างของภาคตะวันออก มีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-300 มม. สำหรับบริเวณที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ (-1) – (-30) ส่วนมากได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ และบริเวณภาคใต้ตอนล่าง

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 นข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ อย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงเพาะปลูก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ