พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday June 22, 2018 15:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22-28 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 75/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 24-26 มิ.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักบาง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตะวันตกของภาค ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก เช่นโรคราสนิมในกาแฟ โรคใบจุดในเบญจมาศและกุหลาบเป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพื้ชไร่ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำ ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีฝนลดลง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้เมื่อมีฝนตก เนื่องจากในระยะปลายเดือนปริมาณและการกระจายของฝนจะน้อยลง
  • ฝนที่ตกไม่สม่ำ เสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพื้ชไร่ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 22-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำ ให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น เงาะ ทุเรียนและลองกอง เป็นต้น เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลแล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์70-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35กม./ชม. ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราสนิมในกาแฟ โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพาราเป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสม
  • สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
  • ในช่วงวันที่ 24-26 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 22-28 มิถุนายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-21 มิ.ย.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-200 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนและตอนล่างของภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 10-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-400 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม. เว้นแต่บริเวณตอนกลางของประเทศ ที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-150 มม.โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีค่าสมดุลน้ำสะสม 150-300 มม. สำหรับบริเวณที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1)-(-40) ส่วนมากได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่จะยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ