พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 2 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday July 2, 2018 15:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 79/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2- 4 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีปริมาณฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. บริเวณด้านตะวันตกของภาคจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราสนิม และโรคใบจุด โดยดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 2-5 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับกล้าข้าวที่กำลังเจริญเติบโต บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • สำหรับด้านตะวันตกของภาคยังคงมีฝนตกน้อย ปริมาณอาจไม่เพียงพอกับความต้องการน้ำของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 2-5 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืชนานเพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • ระยะนี้จะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในบางวัน ซึ่งสภาพอากาศ เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. ในช่วงวันที่2-4 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศ และดินมีความชื้นสูง ชาวสวนไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องถึงโคนต้นเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และควรทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 5-8ก.ค. ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค.ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่5-8 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก

-ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟและยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราสนิมในกาแฟ โรครากขาว และโรคเส้นดำ ในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคเพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง

  • สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 2– 8 ก.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (ในช่วงวันที่ 1 ก.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 0-10 มม. เป็นส่วนใหญ่ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 มิ.ย. – 1 ก.ค.) ประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกตอนล่าง และบางพื้นที่ในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1– 100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ด้านตะวันตกของภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวัออก ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมน้ำเป็นลบ คือ (-1)-(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ