พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday July 20, 2018 15:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 87/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ค. บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนลดลง ในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค.บริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. และ 25-26 ก.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. และ 25-26 ก.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วงเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและจัดทำแผงกำบังฝนสาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำ ให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่20-21 ก.ค. และ 25-26 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น โดยดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสม
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่มีน้ำ ท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันรากพืชเน่า และดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. และ 25-26 ก.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. และ 25-26 ก.ค. ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป:ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุด และโรคราสนิม ในกาแฟเป็นต้น
  • สำหรับภาคใต้ตอนล่าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่20-21 ก.ค. และ 25-26 ก.ค.
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 20-26 ก.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (ในช่วงวันที่ 1-19 ก.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. เว้นแต่ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกตอนล่าง และทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 300-800 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 25-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-600 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-400 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่างด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30)

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยจะมีฝนลดลงในช่วงวันที่ 21-26 เว้นแต่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงมีฝนตกต่อเนืองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ