พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 - 25 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday September 19, 2018 14:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 กันยายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 113/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ก.ย.ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอล มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณด้านรับมรสุมของประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในขณะลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ก.ย. ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

คำเตือน ระยะนี้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง สำหรับในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองแต่ปริมาณและการกระจายจะลดลงโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศรัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้เสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองแต่ปริมาณและการกระจายจะลดลงในช่วงที่มีฝนตกไม่ต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศรัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ เช่น หนอนเจาะลำต้นและหนอนเจาะฝักในข้าวโพด เป็นต้น
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคทำ ให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่เช่น โรคใบขาวและโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 21-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าว เป็นต้น
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่21-25 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด27-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลโรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่21-25 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่19-20 ก.ย. ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง2-4 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่21-25 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่นโรคราสนิมในกาแฟ โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 19 - 25 กันยายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (ช่วงวันที่ 1-18 ก.ย.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-200 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-800 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 12-18 ก.ย. ) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่าง และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 200-600 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทย มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ สะสมเป็นบวก คือ 1-400 มม. โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่าง และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีค่าสมดุลน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ สำหรับบริเวณที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30) มม. ได้แก่ บางพื้นที่ในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยส่วนมากจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ