พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง ระหว่างวันที่ 10 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday October 10, 2018 13:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 10 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 122/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-13 ต.ค. 61 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. 61 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ต.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งแผ่เสริมเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ประกอบกับลมตะวันออกยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และในช่วงวันที่ 14 -16 ต.ค. บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีหมอกในตอนเช้าเกษตรกรควรใช้ความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10 -13 ต.ค. 61 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. 61 มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวน สำหรับในบางพื้นที่จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าเกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ในช่วงนี้
  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้งที่กำลังจะมาถึง
  • ในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10 -13 ต.ค. 61 มีอากาศเย็นในตอนเช้าโดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. 61 มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วง เปลี่ยนฤดูเกษตรกร ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมจัดทำแผงสำหรับกันลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน และจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10 -13 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีหมอกในตอนเช้าทางตอนบนของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับทางตอนบนของภาค ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วง
แล้ง
  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูสภาพอากาศจะแปรปรวน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝน ส่วนมากในช่วงบ่ายและค่ำซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 15-16 ต.ค. 61 มีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 10-13 ต.ค. 61 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. 61 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกร ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น
  • เนื่องจากในฤดูต่อไปจะเป็นฤดูหนาวปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง
ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันตกกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงที่มีฝนตก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 10–16 ต.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-9 ต.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 3-9 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 50-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าบริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศจะเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงเปลียนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ด้านเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย และควระวังการ ระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ