พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday October 17, 2018 15:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 17 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 125/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นสำหรับภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ในขณะที่ลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่19-23 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ลงทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. ซึ่งจะทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 61 ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้งที่จะมาถึง
  • ส่วนข้าวนาปีที่กำลังตั้งท้อง-ออกรวง ชาวนาควรดูแลอย่าให้แปลงนาขาดน้ำในระยะนี้เพื่อให้ข้าวมีผลผลิตที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืชจำพวกหนอนเช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้คอรวง ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง
  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงและมีอากาศเย็นในตอนเช้า อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ ปรับตัวไม่ทันและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูหนาวให้กับสัตว์ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-18 และ 22-23 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ เกษตรกร ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้งที่จะมาถึง
  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศแปรปรวน จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อสัตว์จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูหนาวให้กับสัตว์ด้วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเปลี่ยนแปลงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนตกหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตก ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยนแปลง อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่19-23 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูกเพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิดได้
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17-19 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ต.ค. 61มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 61 ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 61 ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 61ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่นโรคราสนิมในกาแฟ โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีด
ยางในยางพารา เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายรวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น อาจป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 17–23 ต.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-16 ต.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 10-16 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตกภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1 – 70 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองและฝนหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย สำหรับในภาคใต้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชไร่ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ