พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday October 22, 2018 15:33 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 127/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ต.ค. ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ ส่วนภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนลดลง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่นปกคลุมตอนกลางของประเทศเมียนมา ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลาง สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ทางตะวันตกเข้าสู่อ่าวไทยตอนล่าง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ต.ค. คาดว่าหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวจะเคลื่อนที่ผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 22-26 ต.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากอุณหภูมิตอนกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมากผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับฝนที่ตกในช่วงนี้ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมาทางตอนบนของภาคในวันที่ 22 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ต.ค.61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยอากาศจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากในตอนเช้าและตอนกลางวัน รวมทั้งมีฝนตกเล็กน้อย เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง ฝนตกไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 22-23 ต.ค. 61 มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในวันที่ 22-23 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-23 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-28ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนกลางของภาคลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 24-26ต.ค. 61 25-28 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 24-28 ต.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่
  • ในช่วงที่มีฝนตก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 22-28 ต.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-21 ต.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 15-21 ต.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ในบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร หนองบัวลำภู สุพรรณบุรี เพชรบุรี และพังงา ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–100 มม. เป็นส่วนใหญ่ สำหรับบริเวณที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม. ส่วนใหญ่ได้แก่ บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และบางพื้นที่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

คำแนะนำ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนังบางแห่ง เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ด้านเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้เกษตรกรควระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนตกสะสมใด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วงฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาดได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก และควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลงด และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ