พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday October 24, 2018 15:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 128/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคใต้ สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง โดยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างได้เคลื่อนที่เข้าสู่อ่าวไทยตอนล่าง และมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ผ่านภาคใต้ลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคใต้ คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศลาว เวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่27-30 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง โดยในภาคเหนือละภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. จะมีฝนตกหนักมากบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนและทางตะวันตกของภาค และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดซึ่งอยู่ในระยะติดฝักและเก็บเกี่ยวควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะฝัก เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค.อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออก ความเร็ว10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ปลูกฝ้ายซึ่งอยู่ในระยะติดสมอควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างและทางตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง แต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานซึ่งอยู่ในระยะเก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง แต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกมังคุดซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น โรคใบจุด เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่ปลูกเงาะซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอก ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสาหร่าย เป็นต้น
  • ในช่วงนี้บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่24-26 ต.ค. มีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่24-26 ต.ค. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออกความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่27-30 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกกาแฟซึ่งอยู่ในระยะติดผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมและโรคผลเน่า เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่ปลูกลองกองซึ่งอยู่ในระยะเก็บเกี่ยว ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า เป็นต้น
  • ในช่วงนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 24-30 ตุลาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-23 ต.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. โดยเฉพาะในภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 200-300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 17-23 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีปริมาณฝนสะสม100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออกและตอนล่างด้านตะวันตก ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคใต้ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง โดยในภาคเหนือละภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ด้านเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยและควระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียงหายได้ สำหรับเกษตรกรในภาคใต้ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ