พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 18 - 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday January 18, 2019 15:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 8/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 ม.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ม.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 19-20 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นลง และอุณหภูมิจะลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. จะมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง และทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-21 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. จะมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ ควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-20 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบาง ในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 21-24 ม.ค. จะมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกมะม่วง ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยไฟ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็น โดยในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. จะมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรใช้เศษวัชพืชคลุมโคนต้นพืชเพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นของดิน
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลแตง ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่23-24 ม.ค. 62 จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็น โดยในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค.จะมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟและไรแดง เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไปลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม .ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมาลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเท
ได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียน เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 18-24 มกราคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-17 มกราคม 2562) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. โดยภาคใต้ ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 5-50 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ (-10)-(-30) มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลาง และภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ 10-40 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 19-20 ม.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ม.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหาย สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ