พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 - 29 มกราคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday January 23, 2019 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 23 - 29 มกราคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. 62 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า เว้นแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอก ในตอนเช้า แต่ยังคงทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีอากาศหนาวเย็น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลางตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. 62 บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรกรควรให้ ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. 62 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับในช่วงฤดูหนาว อากาศจะจมตัว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟไม่สามารถลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้ แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียง เป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนน และ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาว ถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในวันที่ 23-27 ม.ค. 62 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับผู้ที่จุดไฟ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและ สัตว์เลี้ยง หลังจากใช้งานเสร็จแล้ว ควรดับไฟให้สนิททุกครั้ง เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนกลายเป็นอัคคีภัย
  • ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณ หภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณ หภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 62 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตรและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสวนยางพาราเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน เพราะอาจลุกลามได้
  • สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วงตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมาลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วงลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับทางตอนบนของภาค สภาพอากาศแห้งเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำ เลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างปริมาณและการกระจายของฝนไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ ในระยะที่ผ่านมา หากมีผลไม้ที่ร่วงหล่น เกษตรกรไม่ควรปล่อย ให้อยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันห่างฝั่งจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 23-29 ม.ค. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ช่วงวันที่ 1-22 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยทางฝั่งตะวันออกของภาคมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 16-22 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนไม่มีรายงานฝนตก ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม.

สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ เป็นลบ คือ (-10) - (-40) มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ตอนบนที่มีค่าสมดุลน้ำ เป็นบวก คือ 1-20 มม.

คำแนะนำ ช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน การเจ็บป่วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว และเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับภาคใต้ปริมาณฝนจะมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกปากดูดในบริเวณตอนบนของภาค และการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน บริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ