พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 1 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday February 1, 2019 15:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 14/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.พ. 62 บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นตลอดช่วง

ลักษณะสาคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตลอดช่วง ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5-7 ก.พ. 62 สำหรับบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนฟ้าคะนองและมีลมแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้ช่วยลดค่าฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศลงได้ ส่วนบริเวณประเทศไทยตอนบนขอให้เกษตรกรระมัดระวังสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกและมีหมอกหนาไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ระยะนี้อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกพืชใกล้ชิดกันมากหรือปลูกพืชในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทน้อย จะทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ควรรีบควบคุมก่อนระบาดไปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.พ. 62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย จากหมอกและน้ำค้างได้
  • นอกจากนี้ควรระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.พ. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.พ. 62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกน้อย กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรใช้เศษวัชพืชคลุมโคนต้นพืชเพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นของดิน
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องสัญจร ผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.พ. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.พ. 62 มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำบริเวณทรงพุ่มของพืช หรือให้น้ำในระบบน้ำหยด รวมทั้งควรใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นของดิน
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ และไรแดง ที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 2 - 4 ก.พ. 62 มีหมอกในตอนเช้า กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.พ. 62 มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-24 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งใช้ทางวัสดุเหลือใช้ทางการการเกษตรคลุมบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นของดิน
  • นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไวเพื่อจะไดมีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแลง
  • จากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 1 - 7 ก.พ. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม(ช่วงวันที่ 1-31 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยทางฝั่งตะวันออกของภาคมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 300-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 25-31 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนไม่มีรายงานฝนตก สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เว้นแต่ทางตอนบนของภาคที่มีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ เป็นลบ คือ (-10) - (-30) มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคใต้ตอนบนที่มีค่าสมดุลน้ำ เป็นบวก คือ 1-40 มม.

คำแนะนำ ช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะเพิ่มกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา นอกจากนี้ผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายจากหมอกและน้ำค้างได้ สำหรับภาคใต้จะมีฝนบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้จะได้มีน้ำช้ในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ