พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday February 15, 2019 15:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 20/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก หลังจากนั้น ในช่วงวันที่ 19-21 ก.พ. 62 ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไปในตอนกลางวัน กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. 62 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 19 - 21 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่มาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

คำเตือน ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. 62 ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และควรอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง และต้นไม้ใหญ่ รวมทั้งระมัดระวัง และป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.พ. 62 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้าโดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.พ. 62 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วเกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะจะเปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้อุณหภูมิในตอนกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 19 - 21 ก.พ. 62 มีเมฆบางส่วน กับหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว กษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะจะเปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้อุณหภูมิในตอนกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 ก.พ. 62 มีเมฆบางส่วน กับหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะจะเปียกชื้นเสียหายได้
  • ส่วนฝนที่ตกจะมีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช หรือบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและอุณหภูมิดิน

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 ก.พ. 62 มีเมฆบางส่วน กับหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ซึ่งแรงลมอาจทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นได้
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำ ให้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีปริมาณฝนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตเสียหาย
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 15-21 กุมภาพันธ์ 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ช่วงวันที่ 1-14 ก.พ.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.โดยบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.โดยทางตอนล่างของภาคจะมีปริมาณฝนมากกว่าบริเวณอื่นๆ

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 8-14 ก.พ.) ) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.โดยบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.เป็นส่วนใหญ่

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 20-35 มม. โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็น ลบ คือ (-20) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำ เป็นบวก คือ 1-40 มม.

คำแนะนำ ช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง และที่ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงสำหรับภาคใต้ปริมาณฝนมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกมีสมดุลน้ำสะสมน้อยกว่าบริเวณอื่น เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ