พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday April 29, 2019 15:21 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 51/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในระยะนี้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 29 เม.ย.– 1 พ.ค. 62 บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกสำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีพายุฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น กับลมกระโชกแรงบางแห่ง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. –1 พ.ค. 62 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมทางด้านตะวันตกของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงปกคลุมประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 62 มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ลมใต้ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 มีอากาศร้อน กับพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลการเกษตร
  • ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ เพื่อไม่ให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำเป็นละอองฝอยบริเวณโรงเรือนหรือฉีดน้ำบริเวณหลังคารวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย.– 1 พ.ค. 62 อากาศร้อนกับมีร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 36-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 มีอากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลการเกษตร
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้มีปริมาณน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้ ควรจัดเตรียมพื้นที่การเกษตรให้พร้อมก่อน เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ และดินมีความชื้นเพียงพอจึงทำการเพาะปลูก

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 62 อากาศร้อนกับมีร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 36-42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลการเกษตร
  • ระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกมีน้อยกว่าการคายระเหยน้ำของพืชทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืช เหี่ยวเฉาถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • จากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวันเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำเป็นละอองฝอยในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณหลังคา รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 62 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 อากาศร้อนโดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยตรวจสอบสภาพวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
  • สำหรับสภาวะอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำ และเป็นการรักษาความชื้นในดิน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 62 ลมใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออก แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำและเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชผลการเกษตรที่ขาดแคลนน้ำในช่วงที่ผ่านมา แต่เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นเพิ่มขึ้น
  • จากสภาวะที่มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 5 พ.ค. 62

ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-28 เมษายน) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค ภาคกลางตอนกลาง ภาคตะวันออกด้านตะวันออกและบริเวณชายฝั่ง รวมทั้งภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยในภาคเหนือบริเวณจังหวัดแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม ร้อยเอ็ด และภาคกลางบริเวณกรุงเทพมหานครมีปริมาณฝนสะสม มากกว่าบริเวณอื่นๆ

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 35-45 มม. เป็นส่วนใหญ่ โดยบริเวณภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและตอนล่างมีปริมาณน้ำระเหยสะสม มากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ คือ (-10) - (-40) มม. เว้นแต่ภาคเหนือบริเวณแพร่ ตอนบนด้านตะวันออกและตอนกลางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนกลาง ที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-40 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนัก

สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะยังคงมีอากาศร้อน กับจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอหรือดินมีความชื้นเพียงพอก็จะสามารถปลูกพืชได้ สำหรับภาคใต้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ และระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ