พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday May 10, 2019 14:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 56/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 11 พ.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 พ.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองตกต่อเนื่องตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 10 - 11 พ.ค. ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-11 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 พ.ค. แนวลมที่พัดเข้าหากันของลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น สำหรับลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 12 – 16 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 13 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 10 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และฝนตกหนัก บางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนสภาพอากาศจะแปรปรวนโดยมีฝนตก ในบางวันสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบ เก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเสียหายได้
  • ระยะนี้บางพื้นที่มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้า ให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวไหม้เกรียมและร่างกายขาดน้ำ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศ จะแปรปรวนโดยมีฝนตกในบางวันสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 12 – 14 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม หากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้ลมพัดผ่านแปลงปลูกได้สะดวก ลดความชื้นในแปลงปลูก ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ แล้วค่อยลงมือปลูกพืช

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10 – 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 13 – 16 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี และจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกช่วงฤดูฝน หากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้มี การระบายอากาศที่ดี

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 12 – 16 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยตรวจสอบสภาพวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง ส่วนผลไม้ที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้ในสวนเพราะอาจเสียหายได้
  • เนื่องจากในระยะต่อไป(ช่วงครึ่งหลังของเดือนนี้)จะเข้าสู่ฤดูฝนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดทำ ทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งดูแลคูคลองระบายน้ำอย่าให้ติดขัดและตื้นเขิน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 10 – 11 พ.ค. ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 16 พ.ค. ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณ และการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมแปลงเพาะปลูก ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้
  • ส่วนทางฝั่งตะวันออกพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่ปลูกใหม่ หรือพืชต้นอ่อน ซึ่งยังมีระบบรากที่ไม่แข็งแรง หากขาดน้ำจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานาน จะทำให้ต้นพืชตายได้
  • ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ