พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday May 15, 2019 13:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 58/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลจีนใต้มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรที่ปลูกลำไยควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกอ้อยควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น ด้วงหนวดยาวและหนอนกอ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ แล้วจึงเริ่มเพาะปลูก
  • เกษตรกรที่ปลูกส้มโอควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนฝีดาษและหนอนเจาะผล เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง โดยในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำบริเวณพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • เกษตรกรที่ปลูกเงาะควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและผีเสื้อมวนหวาน เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร

ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควร ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะอาจทำให้สภาพ น้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรค ได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียน หนอนเจาะผลและโรคราแป้ง เป็นต้น
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 15-21 พฤษภาคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-14 พ.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ด้านตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 35-40 มม.

สมดุลน้ำ ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก และบางพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ คือ (-1)-(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางแห่ง โดยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง โดยมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ