พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday May 27, 2019 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 63/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย.62 บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย.62 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ในขณะที่ในช่วงวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. 62 จะมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ในระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนัก โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในโคและกระบือ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 27-31 พ.ค.62 อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 27-31 พ.ค. จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • จากสภาวะที่มีฝนตกต่อเนื่องกัน ทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผักในระยะนี้ ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเป็นการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 28 พ.ค. - 1 มิ.ย.62 อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 28 พ.ค. - 1 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
  • จากสภาวะที่มีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเสริมขอบบ่อ ให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อปองกันน้ำฝนที่ตกจากบริเวณข้างเคียงไหลลงบอ เพราะจะทำใหสภาพน้ำเปลี่ยนสัตวน้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ่และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วงขังในแปลงปลูก
  • จากสภาวะที่มีมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราและสวนผลไม้ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยางและโรคราสีชมพูในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น
  • ช่วงวันที่ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-26 พฤษภาคม) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 50-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออกและตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก และบริเวณจังหวัดขอนแก่น มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม. ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักดิ์การคายระเหยน้ำสะสม 20-45 มม. โดยภาคเหนือด้านตะวันตก และ ภาคกลางด้านตะวันตก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-30) มม. เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนกลาง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ มีค่าสมดุลน้ำ 10-100 มม. คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธุ์และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งควรจัดทำระบบระบายน้ำในแปลงปลูก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานเพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ