พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday June 21, 2019 15:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 74/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและคาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. บริเวณภาคภาคตะวันออกและภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือ และชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกร ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย
  • เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นและหนอนกระทู้ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง และในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
  • เกษตรกรที่ปลูกข้าวควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืช เช่น หนอนกระทู้ข้าวและหนอนม้วนใบ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำ สุด 25-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
  • เกษตรกรที่ปลูกอ้อยควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคใบขาวอ้อยและหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าและหนอนเจาะผล เป็นต้น

-ในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย.บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่น สูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่น สูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักสำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าและหนอนกินใบ เป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 24-27 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานลักษณะอากาศในระยะ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14-20 มิถุนายน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดช่วง โดยมีกำลังแรงในระยะกลางช่วง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของช่วง จากนั้นเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาว และประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 18 และ 19 มิ.ย. กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 16 มิ.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะต้นและกลางช่วง ส่วนภาคใต้มีฝน โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 16 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 16 และ 17 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตราดและเรือประมงอัปปางที่เกาะกูด จังหวัดตราดในวันที่ 18 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 18 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาสในวันที่ 18 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสตูล ในวันที่ 18 มิ.ย.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ