พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday July 5, 2019 15:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 80/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5 – 7 ก.ค. 62 ประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 8 – 11 ก.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตรตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 5 – 7 ก.ค. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก บางแห่งส่วนมากทางตอนล่าง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น ซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม และแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนหนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก บางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่ซึ่งมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ หากมีความจำเป็นต้องเดินย่ำน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • ในช่วงที่มีฝนตกอาจมีน้ำไหลเข้านา ชาวนาควรระวังและป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านา แล้วจับหอยไปทำลายเพื่อป้องกันหอยดังกล่าวเข้ามาแพร่พันธุ์ในแปลงนาแล้วกัดกินต้นข้าว
  • ระยะนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย ในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และดูแลทางระบายน้ำในพื้นที่การเกษตรให้น้ำสามารถไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกและบริเวณโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์ สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม ใช้งาน

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันออกเป็นด้านรับลมของมรสุมดังกล่าว ทำให้มีฝนตกชุก และในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกผลไม้ ผลที่เน่าเสีย และผลที่ร่วงหล่น กองสุมอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝัง ให้ลึก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8– 11 ก.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคราสีชมพู ในยางพารา เป็นต้น
  • สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อย คุณภาพได้
  • เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 5 -11 ก.ค. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน (ในช่วงวันที่ 1-4 ก.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม นครนายก จันทบุรี และตราดที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม. สำหรับภาคใต้ มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก บริเวณจังหวัดนครพนม และด้านตะวันออกของภาคตะวันออก ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-30 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ 1-300 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนกลางที่มีค่าสมดุลน้ำ (-1) - (-30) มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ (-1) – (-30) มม. เว้นแต่บริเวณทางตอนบนของภาคที่มีค่าสมดุลน้ำ 1-20 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกนักมากบางแห่ง โดยพื้นที่การเกษตร ที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยจะมีฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาด ของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ