พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 8 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday July 8, 2019 14:14 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 8 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 81/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค.62 ประเทศไทยมีฝนน้อย ในช่วงวันที่ 10 - 14 ก.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น สำหรับคลื่นลมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตรตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 8-14 ก.ค.62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค.62 จะมีลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค.62 ประเทศไทยมีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค.62 ประเทศไทยจะมีการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ในระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนตกสลับกับอากาศร้อนในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ หนอนห่อใบ ในข้าวและข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหายได้
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรสำรวจและซ่อมแซมโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เนื่องจากในระยะต่อไปจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ พืชสวนและพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย และควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในบางวัน ทำให้สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
  • สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • จากสภาวะที่มีฝนตกต่อเนื่องกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก และเป็นการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว
  • สำหรับเกษตรที่ปลูกทุเรียนและมังคุด ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะลำต้น และหนอนกินใบ เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
  • ในช่วงที่ผ่านมามีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
  • สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 8 - 14 กรกฎาคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (ในช่วงวันที่ 1-7 ก.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกตอนบนกับตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 150-300 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกตอนบนกับตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 150-300 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ 1-300 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกตอนบนกับตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ 100-300 มม. ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางด้านตะวันตก มีค่าสมดุลน้ำ (-1) - (-30) มม.

สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำ (-1) - (-30) มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำ 1-20 มม. คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม และควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ