พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 7 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday August 7, 2019 14:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 94/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 11 ส.ค. 62 ประเทศไทยยังมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในบริเวณด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 12 - 13 ส.ค. 62 ประเทศไทยมีฝนตกลดน้อยลง และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 7 - 11 ส.ค. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ส.ค. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดน้อยลง มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 8-11 ส.ค. 62 ขอให้เกษตรกรบริเวณด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7 - 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับฝนที่ตกหนักทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมขังบางพื้นที่ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญใน โค กระบือ และสุกร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8 - 10 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้ด้านตะวันออกของภาคมีฝนตกต่อเนื่องเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย ส่วนด้านตะวันตกของภาคมีฝนน้อยเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม
  • สำหรับฝนที่ตกไม่ต่อเนื่อง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผัก ควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ลายจุดในข้าวโพด และ หนอนใยผักในพืชผัก ตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาคตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 7 - 10 ส.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ส.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สำหรับนาข้าว เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ ซึ่งจะระบาดมากในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง รวมทั้งระวังศัตรูจำพวกหนอน เช่น หนอนห่อใบข้าว และ

หนอนกอข้าว เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7 - 10 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น 2-3 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มี

ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางล่างของภาค พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำ ท่วมฉับพลันและน้ำ ป่าไหลหลากได้เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือกและผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียอยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 7–13 ส.ค. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในช่วงวันที่ 1-6 ส.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคเหนือบริเวณตอนบนด้านตะวันออกและตอนล่างด้านตะวันตก ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกบริเวณชายฝั่งทางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 150 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคเหนือ บริเวณตอนบนด้านตะวันออกและตอนล่างด้านตะวันตก ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคตะวันออกบริเวณชายฝั่งทางตอนล่างที่มีปริมาณฝนสะสม 150-400 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-35 มม.

สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำ 1-300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและด้านตะวันตก ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ