พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday August 19, 2019 15:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 99/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค.62 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ส.ค.62 ประเทศไทยมีฝนน้อยลง ส่วนภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนมากกว่าภาคอื่นๆ สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค.62 ร่องมรสุมพาดจะผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ส.ค.62 ร่องมรสุมพาดที่ผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อน คำเตือน ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค.62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค

ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป์องกันอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนัก โดยเฉพาะเกษตรกรที่อยู่บริเวณเชิงเขาหรือที่ราบลุ่มเชิงเขา ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค

ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
  • ส่วนบริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค ปริมาณและการกระจายของยังมีน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควร ให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพาราง เป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่ผ่านมาบริเวณตอนบนของภาคมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 19-25 สิงหาคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (ในชวงวันที่ 1-18 สิงหาคม) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 200 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแตบริเวณภาคเหนือดานตะวันออกและด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนกลาง และฝั่งตะวันตกตอนบน ที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน ด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. ศักยการคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำ 1-100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันตก ภาคกลางตอนลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนและตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำ (-1)-(-30) มม.ส่วนบริเวณภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนมีคาสมดุลน้ำ 100-300 มม.

คำแนะนำ ในชวง 7 วันที่ผานมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วม ฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและปองกันความเสียหายจากสภาวะดังกลาว พื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ