พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 16 - 22 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday September 16, 2019 14:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 16 - 22 กันยายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 111/62

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางมีปริมาณฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18-22 ก.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคภาคกลางมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือนช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-22 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงวันที่ 18-22 ก.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง รวมทั้งควรระวังและป์องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ และพืชผักต่างๆ ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 18-22 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ดีดังเดิม สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-22 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ช่วงวันที่ 18-22 ก.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป์องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้มีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก จากสภาวะที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล เช่น โรครากเน่าโคนเน่าใน เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตกช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ย.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วม-ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราพืชไร่ และไม้ผล เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 9-15 กันยายน 2562 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ กับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะกลางสัปดาห์ โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 11 และ 12 ก.ย. และพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาในวันที่ 13 ก.ย. จากนั้นร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ และในระยะปลายสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 10, 11 และ 14 ก.ย. มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันแรกบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 12 ก.ย. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 10 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 50-65 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 10, 11 และ 12 ก.ย. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ