พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 14 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday October 14, 2019 14:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 14 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 123/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง กับมีลม กระโชกแรง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ในช่วงวันที่ 14 - 20 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง สำหรับในช่วงวันที่ 14 - 20 ต.ค. 62 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงอุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาวปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมแรง ตลอดช่วง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อมใช้งาน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้ฝนตกและหยุดตกสลับกันสภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกิน ส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนของพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง กับลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงัก การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง จัดทำทาง ระบายเพื่อให้น้ำสามารถระบายได้สะดวก ป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรดูแลพื้นที่การเกษตร ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 7-13 ตุลาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันสุดท้าย ของสัปดาห์ ประกอบกับลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนและอ่าวไทยเป็นลมตะวันออกในระยะต้นสัปดาห์ กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยในระยะกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 11 และ 12 ต.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 8 และ 13 ต.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 8 และ 13 ต.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 12 ต.ค. มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปัตตานี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก พิจิตร เลย หนองคาย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ