พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 18 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday October 18, 2019 15:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 125/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 18 - 21 ต.ค.62 ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมี/ อากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง สำหรับภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค.62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง

คำเตือนในช่วงวันที่ 18-21 ต.ค.62 ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค.62 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-21 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค.62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้อากาศอากาศเย็น โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ ซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอก ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะกิ่ง เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-21 ต.ค.62 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค.62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรปรับลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค.62 อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว ปริมาณและกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค.62 อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง จากสภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า ชาวสวนผลไม้ ควรป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะลำต้นในทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด และหนอนชอนเปลือกลำต้นในลองกอง เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค.62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก จากฝนที่ตกติดต่อกันในระยะนี้ ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในพืชไร่ และไม้ผล เป็นต้น อนึ่ง บริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11-17 ตุลาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะกลางและปลายช่วง ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยและอ่าวไทย โดยมีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยในระยะครึ่งหลังของช่วงกับมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงและมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าและยังคงมีฝนในบริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากในระยะกลางช่วง สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะกลางและปลายช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13 ต.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะกลางช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 13 และ 14 ต.ค. มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12 และ 13 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 12 และ 14 ต.ค. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ