พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 25 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Friday October 25, 2019 15:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 128/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 – 26 ต.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 28 ต.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 29 – 31 ต.ค. 62 ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 25-28 ต.ค. 62 บริเวณภาคใต้จะมีตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมค่อนข้างแรง ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25 - 28 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ต.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงวันที่ 25 - 28 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง สำหรับระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาววัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก โดยเฉพาะไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่น ลิ้นจี่และลำไย การกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นพืชให้โล่งเตียนจะทำให้ดินแห้ง เมื่อมีความหนาวเย็นยาวนานและเพียงพอ จะกระตุ้นให้พืชแตกตาดอกได้ดี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25 - 28 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ต.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีลมแรงทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงวันที่ 25 - 28 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25 - 29 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10–20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. 62 อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงวันที่ 25 - 29 ต.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง สำหรับ เกษตรกร ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ยังคงทำได้ แต่ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่พืช อยู่ในระยะผลิดอกออกผล เป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากกว่าระยะอื่นๆ หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เนื่องจากฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงที่มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีฝนกับฝนตกหนักบางพื้นที่ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งเกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะฝนตกหนักไว้ด้วย สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 25-29 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18-24 ตุลาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและทะเลจีนใต้ได้อ่อนกำลังลงในระยะครึ่งหลังของช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำ ลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำ ให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นบางพื้นที่โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่ส่วนมากในระยะต้นและปลายช่วง สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ บริเวณตอนบนของภาคมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้น มีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางแห่งในวันที่ 23 และ 24 ต.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วงและในวันสุดท้ายของช่วง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 40-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง สำหรับบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ