พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday October 28, 2019 15:58 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 129/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง โดยมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศแปรปรวนกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28-29 ต.ค. และ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค โดยอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่และอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังและลมกระโชกแรง นอกจากนี้ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28-29 ต.ค. และ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-29 ต.ค. และ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 28-29 ต.ค. และ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 21-27 ตุลาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในบางพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง

ภาคเหนือ บริเวณตอนบนของภาคมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 25 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 21 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 26 ต.ค.มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่

สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ