พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 1 - 7 พฤศจิกายน 2562

ข่าวทั่วไป Friday November 1, 2019 15:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 131/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1 - 3 พ.ย. 62 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนในระยะนี้กับมีอากาศหนาวเย็นในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ย. 62 ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่แปรปรวน ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 - 3 พ.ย. 62 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ย. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศแปรปรวนกับมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้นเกษตรกรที่ปลูกมะขามหวาน ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราแป้ง เป็นต้น
ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 - 3 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 – 7 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศแปรปรวนกับมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นอย่างเพียง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงฝนแล้ง
ภาคกลาง

ในช่วงวัในช่วงวันที่ 1 - 4 พ.ย. 62 มีเมฆมากกับมีฝนร้อยละ 10–30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ย. 62 มีเมฆมากกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1 - 3 พ.ย. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 – 7 พ.ย. 62 มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต เนื่องจากสภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า ชาวสวนผลไม้ ควรป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนรังเจาะลำต้นในทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด และหนอนชอนเปลือกลำต้นในลองกอง เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
ภาคใต้

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรจัดทำระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25-31 ตุลาคม 2562 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนในระยะปลายช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายช่วง อนึ่ง ในระยะครึ่งหลังของช่วงพายุโซนร้อน “แมตโม (MATMO (1922))” ที่เคลื่อนตัวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวีนอน ประเทศเวียดนามในช่วงกลางดึกของวันที่ 30 ต.ค. จากนั้นพายุนี้ได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าสู่ประเทศกัมพูชาก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงเช้าของวันที่ 31 ต.ค.และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชาในช่วงค่ำของวันเดียวกัน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง และยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนมากในระยะต้นและกลางช่วง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ