พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 ตุลาคม พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Monday October 19, 2020 13:21 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 ตุลาคม พ.ศ.2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 126/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 - 21 ต.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมา ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ ในช่วงวันที่ 22 - 25 ต.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. 63 มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรงโดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และวัสดุสำหรับทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 21 ต.ค. 63 มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-29 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรงโดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ รวมทั้งระวังโรคที่เกิดหลังน้ำลด เช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและโรคตาแดง เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 21 ต.ค. 63 มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรงโดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับฤดูถัดไปจะเป็นฤดูหนาวและฤดูร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 21 ต.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มไม่ควรปล่อยให้น้ำขัง ในแปลงปลูกพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2563 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่างในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้พาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน "นังกา (NANGKA (2016))" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนิญบิญ ทางตอนใต้ของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 14 ต.ค. และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณเมืองทัญฮว้า ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 19.00 น. ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณแขวงหัวพัน ประเทศลาวในวันต่อมา อีกทั้งมีพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันที่ 17 ต.ค. และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมประเทศกัมพูชาในเวลาต่อมา ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่น โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15, 16 และ 18 ต.ค. มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13 และ 14 ต.ค. มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 15 และ 17 ต.ค. โดยมีรายงาน น้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 12-16 ต.ค. จังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 13 ต.ค. จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 15 ต.ค. และจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 17 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในที่ 12 และ 14 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 15-17 ต.ค. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดราชบุรี ในวันที่ 12-14 ต.ค. จังหวัดอุทัยธานีและสมุทรสาครในวันที่ 16 ต.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงและน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 17 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12 และ 14 ต.ค. มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระแก้วในวันที่ 12-15 ต.ค. จังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 13-15 ต.ค. จังหวัดชลบุรีและปราจีนบุรีในวันที่ 18 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 55-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12, 13 และ 17 ต.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 12 และ 14 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานีในวันที่ 14-15 ต.ค.

ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงาน น้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 12-15 ต.ค. จังหวัดตรังในวันที่ 12-16 ต.ค. จังหวัดสตูลในวันที่ 13-16 ต.ค. จังหวัดกระบี่ในวันที่ 14 ต.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 12 ต.ค. และจังหวัดสตูลในวันที่ 13 ต.ค.

ปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร นครราชสีมา ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ระนอง และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ