พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม –5 พฤศจิกายน 2563

ข่าวทั่วไป Friday October 30, 2020 15:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ? 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 131/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงเล็กน้อย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศ เมียนมาและอ่าวเบงกอลตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศเย็นกับมีลมแรง ในขณะที่ ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะ น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. อากาศเย็น กับมีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้อากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังโรคใบจุดในเบญจมาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. อากาศเย็นกับมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้อากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. มีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. 63 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้อากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันแมลงวันผลไม้ในฝรั่ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้อากาศเย็นและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคราสีชมพูในลองกอง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันหนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 23 ? 29 ตุลาคม 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ในระยะกลางและปลายช่วงประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก คือ ไต้ฝุ่น ?โซเดล (SAUDEL (2017))? บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในช่วงเช้าของวันที่ 26 ต.ค. ขณะมีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชันและเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศลาวก่อนจะสลายตัวไปในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน และไต้ฝุ่น ?โมลาเบ (MOLAVE (2018))? บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 28 ต.ค. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนบริเวณเมืองกวางนาม ประเทศเวียดนามในช่วงเย็นของวันเดียวกัน จากนั้นพายุนี้ได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาว แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเวลา 02.00 น. ของวันที่ 29 ต.ค. และได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นจนหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันเดียวกัน พายุทั้งสองลูกนี้ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นในระยะกลางและปลายช่วงส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้ร่องมรสุมได้พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะครึ่งหลังของช่วง ทำให้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาและยอดดอย โดยมีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค ในระยะต้นช่วง สำหรับบริเวณเทือกขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักหลายพื้นและหนักมากบางแห่งในวันที่ 25, 26, 28 และ 29 ต.ค. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 29 ต.ค. ภาคกลางมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนถึงหนักมากหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 28 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง และระนองส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ