พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday November 6, 2020 15:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 134/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ประกอบกับพายุ "โคนี" ได้อ่อนกำลังลงแล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 6 พ.ย. ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกา ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้อากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคจุดดำหรือโรคแอนแทรคโนสในอะโวกาโด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง และมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้อากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้อากาศเย็นและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในข้าวโพด

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้อากาศเย็นและมีฝนบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต้นและกลางช่วงและแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะปลายช่วง ประกอบกับในวัน

แรกของช่วงมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชันปกคลุมอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีฝนส่วนมากในระยะต้นช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตลอดช่วงจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นได้เลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ตลอดช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ 5-35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 ต.ค., 2 และ 4 พ.ย. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 2 พ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 4 พ.ย.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงโดยมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้น มีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันที่ 1-2 พ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดจันทบุรีในวันที่ 30 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วงและวันที่ 2 พ.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 1, 3 และ 5 พ.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร นครพนม นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครปฐม สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ